สิ่งก่อสร้างภายในวัด ของ วัดขนอน (จังหวัดราชบุรี)

อุโบสถ กว้าง 29 เมตร ยาว 58 เมตร สร้างเมื่อ ประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาไม้ทรงไทยลด 3 ชั้น ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา มีวิหารคดรอบอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 120 องค์ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 25.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2454 เป็นอาคารไม้ทรงไทยหอสวดมนต์ กว้าง 11 เมตร ยาว 22 เมตร เป็นอาคารไม้ทรงไทยกุฏิสงฆ์ เป็นอาคารไม้ทรงไทย 3 หลังศาลาไทย เป็นอาคารไม้ทรงไทย กว้าง 9.50 เมตร ยาว 14.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง 21 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลังพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน แบบเรือนไม้ทรงไทย กว้าง 17 เมตร ยาว 23 เมตร พิพิธภัณฑ์วัดขนอน (โบราณวัตถุ) แบบเรือนไม้ทรงไทย กว้าง 15.50 เมตร ยาว 19 เมตร

เขตวัดขนอน

ชื่อวัดขนอน มาจากการที่เคยเป็นจุดตั้งด่านเก็บภาษีอากร เปลี่ยนชื่อเมื่อ พ.ศ 2447 ตั้งวัดเมื่อ ก่อน พ.ศ. 2300 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อก่อน พ.ศ. 2300

การตั้งวัด ที่ตั้ง วัดมีเนื้อที่ 55 ไร่ - งาน 40 ตารางวา ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบพื้นที่วัดเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นวัด ส่วนที่เป็นโรงเรียน และส่วนที่เป็นลานปฏิบัติธรรมและป่าไม้

การศึกษา ได้มีการเปิดสอน

  1. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2493
  2. โรงเรียนประถมศึกษา ตั้งอยู่ในที่ดินวัด เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน

สาธารณประโยชน์แก่ชุมชน

  1. ห้องสมุดประจำวัด
  2. ห้องสมุดประจำโรงเรียน
  3. หน่วย อ.ป.ต.(หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล)

ศาลาการเปรียญ

ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 25.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2454 เป็นอาคารไม้ทรงไทย

เขตพระอุโบสถ

เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยในรัชกาลที่ 5 โดยจำลองสถาปัตย์วิหารหลวงวัดสุทัศน์

พระอุโบสถ

อุโบสถ แต่เดิมอุโบสถมีรูปแบบลักษณะใดไม่มีหลักฐานปรากฏ ต่อมาหลวงปู่กล่อมหรือพระครูศรัทธาสุนทร (จนฺทโชโต) ได้บูรณปฏิสังขรณ์ช่อม-สร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2450 ได้เริ่มทำการก่อสร้างใหม่โดยมีช่างชาวจีนเป็นแม่งาน ในการก่อสร้างหลวงปู่กล่อม เป็นผู้ออกแบบคิดประดิษฐ์ผูกลายประตู หน้าต่าง หน้าบัน ฯลฯ โบสถ์ใหม่ที่หลวงปู่กล่อมสร้างขึ้นนั้น มีลักษณะคล้ายกับพระวิหารหลวงของวัดสุทัศน์เทพวราราม

ลักษณะของพระอุโบสถเป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้น 3 ชั้น ซ้อนกันชั้นละ 3 ตับ มีมุขลดทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 1 ห้อง โดยมีเสาสี่เหลี่ยม 4 ต้น รองรับโครงหลังคา ด้านข้างมีชายคาปีกนกคลุมมีเสาสี่เหลี่ยมรองรับด้าน ๆ ละ 9 ต้น ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นประดับกระจก หน้าบันปูนปั้นลวดลายพันธุ์พฤกษาตรงกลางเป็นรูปวงกลม ฐานพระอุโบสถยกพื้น 2 ชั้น ชั้นแรกอยู่ในแนวเดียวกับเสารองรับชายคา ปีกนก ตั้งซุ้มใบเสมาปูนปั้นย่อมุมไม้สิบสอง

ผนังด้านหน้าและด้านหลังก่ออิฐถือปูนเรียบ มีประตูทางเข้าด้านละ 2 ประตู ซุ้มประตูปูนปั้นทรงเจดีย์ บานประตูไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก ลวดลายดอกไม้กลมส่วนล่างเป็นภาพทวารบาลยืนถืออาวุธ ซุ้มประตูด้านหลังบริเวณมุมซุ้มด้านขวาตอนบน มีจารึกภาษาไทย คำว่า “เจกหัว” ซึ่งอาจจะหมายถึงชื่อของนายช่างชาวจีน ผนังด้านข้างก่ออิฐถือปูนมีช่องหน้าต่างด้านละ 7 ช่อง บานหน้าต่างไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก ลวดลายตอนบนเป็นลายตาข่ายดอกไม้ ตอนล่างเป็นลายรูปสัตว์ ลวดลายของบานหน้าต่างแต่ละบานจะไม่ซ้ำกัน ด้านหน้าพระอุโบสถมีบันไดเตี้ย ๆ ขึ้นทางด้านข้าง เสาบันไดมีภาพจิตรกรรมจีนและอักษรจีน ด้านหนึ่งมีอักษรภาษาไทยว่า “โบษเจ๊กทำงาม”

ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธรูปศิลาแลงประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย – ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านข้างซ้าย-ขวามีพระอัครสาวกยืนพนมมือ ฐานชุกชีด้านหลังพระประธานประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย และปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 5 อีก 10 องค์ และ พระอัครสาวกยืนพนมมือ

ภายนอกพระอุโบสถมีระเบียงคตก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทั้งสี่ทิศ ภายในระเบียงมีพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย จำนวน 120 องค์ ประดิษฐานรายรอบเจดีย์ราย ตั้งอยู่ด้านหน้า พระอุโบสถเรียงกันเป็นแถวจำนวน 6 องค์ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้ สิบสอง ฐานเจดีย์เป็นฐานสิงห์ซ้อนกัน สองชั้น องค์ระฆังขนาดเล็กมีบัวรองรับปากระฆัง ส่วนยอดมีบัลลังก์สี่เหลี่ยมรองรับชุดบัวคลุ่มเถาและปลียอด ด้านหลังพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงระฆังก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวทรง สี่เหลี่ยม รองรับฐานบัวกลมและชุดมาลัยเถาโดยที่ชั้นมาลัยเถานี้จะมีซุ้มพระ 8 ซุ้ม ซ้อนกันเป็นสองชั้นชั้นละ 4 ซุ้ม องค์ระฆังกลมมีสายสังวาลรัด ส่วนยอดมีบัลลังก์สี่เหลี่ยมรองรับบัวและปลียอด ลักษณะของส่วนยอดคล้ายกับเจดีย์มอญ

อีกด้านหนึ่งของถนนด้านหน้าวัด มีเจดีย์อยู่ 1 องค์ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังสีขาวนวล ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมมีกำแพงสี่เหลี่ยมทึบเตี้ยๆ ล้อมรอบ ฐานด้านล่างเป็นฐานบัวกลมซ้อนกัน3 ชั้นองค์ระฆังมีการตกแต่งปูนปั้นรูปใบโพธิ์ทั้ง 4 ด้านส่วนยอดเป็นมาลัยเถาและปลียอด

พระเจดีย์

เจดีย์ในอุโบสถ์ประการด้วยเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองจำนวน 5 องค์ พระปรางค์ 1 องค์

พระมหาเจดีย์

พระมหาเจดีย์ฐานเดียว สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระพุทธรูปในซุ้มเจดีย์ทั้ง 8 ทิศ บรรจุพระธาตุ